ชาวพุทธในกรุงย่างกุ้ง เมียนมา ร่วมทำบุญวันมาฆะบูชากันอย่างเนืองแน่น
ชมการเฉลิมฉลองวันมาฆบูชาที่เมียนมาร์ ประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นพุทธแบบเคร่งครัดที่สุดประเทศหนึ่ง ธรรมเนียมปฏิบัติในวันมาฆบูชาของเมียนมาร์ ธรรมเนียมปฏิบัติในวันมาฆบูชาของเมียนมาร์จะแตกต่างจากของไทย บทบาทของพุทธศาสนาในเมียนมาร์ เห็นได้อย่างชัดเจนเป็นพิเศษในวันสำคัญทางศาสนา อย่างเช่นวันมาฆบูชา ที่ชาวพม่าเรียกว่าวันสังฆะ หรือวันเพ็ญเดือนตะบอง ชื่อเรียกเดือนสุดท้ายตามปฏิทินจันทรคติของเมียนมาร์ ถึงแม้ว่าวันนี้จะไม่ใช่วันสำคัญที่สุดของศาสนาพุทธอย่างวันวิสาขบูชา ซึ่งถือเป็นวันพระพุทธ เนื่องจากเป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า แต่ก็ถือเป็นวันแห่งพระสงฆ์ หรือ "สังฆะ" เนื่องจากเป็นวันที่พระอรหันต์ 1,250 รูปมาชุมนุมกันโดยมิได้นัดหมาย รัฐบาลเมียนมาร์ประกาศให้วันสังฆะ หรือมาฆบูชาเป็นวันหยุดราชการเช่นเดียวกับไทย ลาว และกัมพูชา ทำให้ในวันสำคัญนี้ พุทธศาสนิกชนสามารถออกมาปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาได้อย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม ตามธรรมเนียมของชาวพม่า การเฉลิมฉลองวันมาฆบูชาจะจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ที่เจดีย์ชเวดากอง พระเจดีย์ทองคำกลางนครย่างกุ้ง เมืองหลวงเก่าของเมียนมาร์ ล่วงหน้าก่อนเพ็ญเดือนตะบองถึง 15 วัน โดยเทศกาลเฉลิมฉลองนี้จะเริ่มต้นตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำเดือนตะบอง ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งเป็นวันมาฆบูชา โดยที่เจดีย์ชเวดากองจะมีพิธีต่อเนื่องตลอดทุกวัน เริ่มตั้งแต่พิธีบวงสรวงสักการะพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ต่อด้วยการสวดพระปริตรโดยไม่หยุดต่อเนื่อง 10 วัน โดยพิธีกรรมต่างๆที่ว่านี้ จะมีพุทธศาสนิกชนมาร่วมฟังสวดอย่างคับคั่งตลอดเวลา เนื่องจากเทศกาลมาฆบูชาที่ชเวดากองถือเป็นงานบุญครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งประจำปี
credit : irrawaddy