มะเร็งปากมดลูก ทะลุ 8,000 ต่อปี วัยทองสุ่มเสี่ยง

2018-08-20 06:30:55

มะเร็งปากมดลูก ทะลุ 8,000 ต่อปี วัยทองสุ่มเสี่ยง

Advertisement

อุบัติการณ์โรคมะเร็งปากมดลูก พบได้เป็นอันดับ 2 ในไทยรองจากมะเร็งเต้านม จำนวนผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 8,000 รายต่อปีเสียชีวิตประมาณ 4,500 รายต่อปี หรือพบผู้ป่วยรายใหม่วันละ 22 ราย และเสียชีวิตวันละ 12 รายโรคนี้พบมากในช่วงอายุ 40-50 ปี

สาเหตุและอาการของโรค 

เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV ชนิดของมะเร็งซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการมีเพศสัมพันธุ์ในระยะพบรอยโรคก่อนมะเร็งจนมะเร็งระยะเริ่มแรกจะไม่มีอาการผิดปกติแต่อาจจะตรวจพบโดยการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจนเริ่มมีการลุกลามมากขึ้นจะมีเลือดออกทางช่องคลอด ตกขาวปนเลือด อาการอื่นๆ ที่พบ เช่น ปวดท้อง ปัสสาวะเป็นเลือด ท่อไตอุดตัน เป็นต้น 

ปัจจัยเสี่ยง 

สตรีที่มีเพศสัมพันแล้วถือว่ามีความเสี่ยงทุกราย จะอยู่ในกลุ่มเสี่ยงมากขึ้นถ้ามีคู่นอนหลายคน มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย สูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่เป็นประจำ ติดเชื้อไวรัส HPV ชนิดของมะเร็ง รวมทั้งการไม่ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

แนวทางการรักษา 

  1. ระยะก่อนมะเร็งถ้าเป็นน้อยสามารถติดตามอาการได้แต่ถ้าเป็นมากขึ้นสามารถรักษาโดยใช้การผ่าตัดโดยมุ่งลวดไฟฟ้า 
  2. มะเร็งระยะที่ 1 รักษาโดยการผ่าตัดปากมดลูกบางส่วนออกหรือผ่าตัดปากมดลูกและมดลูกออกร่วมกับเนื้อเยื่อข้างเดียวและต่อมน้ำเหลืองบริเวณอุ้งเชิงกราน
  3. มะเร็งระยะที่ 2 และ 3 มักให้การรักษาโดยการฉายรังสีร่วมกับการใช้ยาเคมีบำบัดส่วนการผ่าตัดนั้นจะพิจารณาเฉพาะบุคคล
  4. มะเร็งระยะที่ 4 มาร์ครักษาโดยให้การฉายรังสีเฉพาะจุดหรือร่วมกับการใช้ยาเคมีบำบัดโดยพิจารณาเป็นรายรายไปร่วมกับการรักษาตามอาการและผลข้างเคียงของโรคที่เกิดขึ้น

แนวทางการป้องกันโรค

  1. การป้องกันไม่ให้ไวรัส HPV เข้าสู่ร่างกายโดยการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก และการใช้ถุงยางอนามัย แต่ก็ยังไม่มีวิธีใดที่ป้องกันได้เต็มร้อย ยกเว้นการไม่เคยมีเพศสัมพันธ์
  2. เมื่อมีไวรัส HPV เข้าสู่ร่างกาย หรือไม่ทราบว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกหรือรูปกับการตรวจหาไวรัส HPV ก่อนที่รอยโรคจะกลายเป็นมะเร็ง

ขอแนะนำเพิ่มเติม 

  1. ไม่ว่าฉีดวัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกแล้ว ยังจำเป็นต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอยู่สม่ำเสมอเมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไป
  2. โรคมะเร็งปากมดลูกป้องกันได้รักษาได้ถ้าอยู่ในระยะแรกอย่ารอเวลาจนมีอาการแล้วค่อยมาพบแพทย์



ขอขอบคุณข้อมูลจากโรงพยาบาลธนบุรี