บทวิเคราห์ะโควิดไทย จากหลักร้อยถึงเรือนพัน กับนัยที่แฝงอยู่

2020-03-28 13:00:29

บทวิเคราห์ะโควิดไทย จากหลักร้อยถึงเรือนพัน กับนัยที่แฝงอยู่

Advertisement



ดูสถิติติดเชื้อโควิด-19 ในไทย เกินหลักร้อยถึงหลักพันใน 11 วัน สัดส่วน ติดเชื่้อต่างจังหวัด ม้วนกลับมาแซงหน้า กทม.วันเดียวกับการสั่งปิด 26 กิจการ ทั้งโรงหนัง ศูนย์การค้า สนามมวย ยันร้านเสริมสวย เทียบกับอาเซียน กราฟเริ่มชันขึ้น





รายงานข้อมูลจากศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการพัฒนาและวิจัย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)แจ้งเพิ่มเติม จำนวนผู้ติดเชื้อนับจากวันที่มีผู้ติดเชื้อ 100 ราย ซึ่งของประเทศไทยเริ่มตั้งแต่วันที่ 15 มี.ค.63

โดยวันที่ 28 มี.ค.63 เวลา 11.00 น. ในประเทศไทย มีผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เพิ่มขึ้น 109 ราย ผู้ป่วยสะสมจำนวน 1,245 ราย




ย้อนไปดูกัน........วช.ได้บันทึกสถิติผู้ติดเชื้อเมื่อครบ 100 คนแรก เริ่มวันที่ 15 มี.ค.63 ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็น 599 คน ในวันที่ 7 (22มี.ค.63) ถึงระดับ 1,045 วันที่ 11 (26มี.ค.63) จัดเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ยังไม่อาจกล่าวได้ว่าปกติหรือไม่ และต้องเฝ้าดูต่อไป


สำหรับอัตราการติดเชื้อของกรุงเทพมหานคร (กทม.)และ ต่างจังหวัด ถึงวันที่ 27 มี.ค. สัดส่วนการติดเชื้อของต่างจังหวัด อยู่ที่ 58% กทม. 42% ตรวจสอบย้อนหลังพบว่า ในวันที่ 6(21มี.ค.63) สัดส่วนผู้ติดเชื้อใน กทม.มี 69% ต่างจังหวัด 31% รุ่งขึ้น 22 มี.ค.63 ผู้ติดเชื้อใน กทม.ลดลงเป็น 54% ต่างจังหวัดเพิ่มเป็น46%

ทั้งนี้ 22 มี.ค.63 เป็นวันที่กรุงเทพมหานคร ออกประกาศให้ปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว ฉบับที่ 2 ครอบคลุม ห้างสรรพสินค้า ตลาด โรงภาพยนตร์ ร้านอาหาร ร้านเกมส์ สนามกอล์ฟ สนามมวย สถานบริการ สถานอาบ อบ นวด สวนสนุก สถานศึกษาฯ ซึ่งทำให้มีคนเดินทางออกต่างจังหวัดเป็นจำนวนมาก

สัดส่วนการติดเชื้อ ต่างจังหวัดมีอัตราสูงกว่า กทม.อย่างมีนัย ตั้งแต่วันที่ 8(23มีค.63) โดย กทม.เหลือ 47% ต่างจังหวัดเพิ่มถึง 53% และต่างจังหวัดขึ้นไปถึง 58%วันที่ 24มี.ค. เพิ่มสูงสุด 59% วันที่ 25 มี.ค.และ58% อีกครั้งวันที่ 27มี.ค.

นับได้ว่า สัดส่วนคนติดเชื้อต่างจังหวัดกลับมาสูงกว่า กทม.ในอัตราคงตัวระดับ53- 58% ติดต่อกันมาแล้ว 5 วัน

เมื่อเทียบกับอัตราการติดเชื้อเพิ่มขึ้นของประเทศในกลุ่มอาเซียน ประเทศมาเลเซีย นำโด่งขึ้นอันดับหนึ่ง เกิน 2,000 คน ประเทศไทยเป็นอันดับสอง ตามด้วยอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์



นักวิจัยของ วช. ให้ความเห็นก่อนหน้านี้ว่า อัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อในอาเซียน แตกต่างกันเป็นสองกลุ่ม คือ มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ มีลักษณะของเส้นกราฟที่มีความชันคล้ายคลึงกัน จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประเทศสิงคโปร์มีอัตราการเพิ่มขึ้นแบบช้าๆ ส่วนเวียดนามเพิ่งมีผู้ติดเชื้อถึง 100 คนเมื่อวันที่ 23มี.ค.63 ซึ่งต้องติดตามต่อไป 






ทางด้านกลุ่มประเทศที่มีการติดเชื้อปริมาณสูง หลักหมื่นคน พบว่า สหรัฐอเมริกา มีระดับความชันเพิ่มขึ้น โดย ประเทศจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น มีการเพิ่มในแนวระนาบ