สถานการณ์การระบาดของโรค โควิด-19 ข้อมูลถึงวันที่ 30 มี.ค.63 มีจำนวนผู้ป่วยยังรักษาในโรงพยาบาล 1,388 คน รวมผู้ป่วยสะสม 1,524 คน เป็นผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 136 คน
ผู้ป่วยอาการรุนแรง 23 ราย
เสียชีวิตเพิ่ม 2 รวม 9 ราย
ศูนย์ปฏิบัติการด้านข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระบุว่าผู้สียชีวิตเป็นชายไทยอายุ 68 ปี มีโรคประจําตัว ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน มีอาการเหนื่อยหอบ เข้ารักษาที่โรงพยาบาลเอกชน ตรวจพบปอดอักเสบ และภาวะวิกฤติระบบทางเดิน หายใจ จึงส่งต่อไปที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า อาการไม่ดีขึ้น และเสียชีวิตวันที่ 26 มีนาคม 2563
ส่วนผู้ป่วยอาการ หนัก มีอาการปอดอักเสบ ใส่เครื่องช่วยหายใจและเฝ้าระวังอาการใกล้ชิด ครึ่งหนึ่งเป็นผู้ที่อายุมากกว่า 70 ปี และมีโรคเรื้อรัง ประจําตัว จึงเป็นกลุ่มเสี่ยงที่สําคัญ
ในจํานวนนี้ 1 ราย อาการอยู่ในภาวะวิกฤต
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้ทำกราฟิก ภาพแสดงการระบาดบนแผนที่ประเทศไทย ให้เห็นอัตราการเพิ่ม โดยวันที่ 1 มี.ค.63จำนวนผู้ติดเชื้ออยู่ในพื้นที่ กรุงเทพมหานครและภาคกลาง ส่วนทางภาคเหนือมีบางจังหวัดเพียงแห่งละ 1 คน ต่อมาวันที่ 14 มี.ค.63 จากที่กระจุกตัวใน กทม.และภาคกลางบางจังหวัด ก็ขยายพื้นที่ภาคกลาง และภาคใต้ ด้วยสัดส่วนจำนวนยังเล็กน้อย
วันที่ 21 มี.ค.63 จำนวนผู้ติดเชื้อขยายออกต่างจังหวัด ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วยปริมาณสูง ขณะเดียวกันก็ขยายพื้นที่และจำนวนผู้ติดเชื้อไป ทางภาคเหนือ ภาคกลางและภาคใต้มากขึ้น
วันที่ 27 มี.ค.63 กราฟิกแสดงสีเข้มขยายไปเกือบทั่วประเทศ พื้นที่ยิ่งสีเข้มหมายถึงความหนาแน่นของผู้ติดเชื้อมีมาก
ส่วนกราฟแสดงผู้ติดเชื้อรายใหม่ วันที่ 29 มี.ค.63 กลับมาดีดสูงขึ้นไปอีกถึง 143 คน จากที่ก่อนหน้านี้ วันที่ 28 มี.ค.63 อยู่ที่ 109 และวันที่ 27มี.ค.63 มีเพียง 91
อยู่รอให้ถึง 2 เม.ย.63 ก็แล้วกัน
อย่างไรก็ตาม นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ระบุว่า จำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงาน อาจเป็นเพราะประชาชนตื่นตัว เข้ารับการตรวจมากขึ้น และไม่ได้ปิดบังตัวเลข ทั้งนี้ มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 26 มี.ค.63 ว่าจะมีผลอย่างไร ตัวเลขจะน่าจะสะท้อนให้เห็นหลังการประกาศแล้ว 5 – 7 วัน