รายงานโรคไวรัสโคโรนา2019 หรือ โควิด-19 ของไทยวันที่ 14 มิ.ย. 63 ไม่พบผู้ติดเชื้อจากภายในประเทศติดต่อกัน เป็นวันที่ 20 แล้ว และเป็นคืนแรกที่ยกเลิกการห้ามออกนอกเคหสถาน ห้าทุ่มถึงตีสาม
สมกับที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก ล่าสุดเพิ่งติดอันดับ 2 จากทั้ง 184 ประเทศทั่วโลก รองจากประเทศออสเตรเลีย สำหรับประเทศที่ฟื้นตัวจากโควิด -19โดยองค์กร Global COVID-19 หรือ (GCI) จัดตั้งโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม ประเทศมาเลเซีย และกลุ่ม sunway ที่ให้คะแนนจากจำนวนผู้ป่วยและสัดส่วนการเสียชีวิตเทียบกับสัดส่วนประชากร
3. ประเทศที่ควบคุมการระบาดได้ แต่ยังไม่พ้นระยะการแพร่ระบาดโรค เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ สเปน ตุรกี อิตาลี สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และประเทศมาเลเซีย
4. ประเทศที่พ้นการระบาดรอบที่หนึ่งแล้ว เช่น ประเทศจีน ไทย เยอรมนีสโลวีเนีย นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และประเทศไอซ์แลนด์
5. ประเทศที่เกิดการติดเชื้อในระยะที่สอง แต่ควบคุมได้ เช่น ประเทศเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และ สิงคโปร์
6. ประเทศ เขตเศรษฐกิจที่ไม่เกิดการระบาดใหญ่ เช่น ฮ่องกง ไต้หวัน เวียดนาม และประเทศลาว
รายงานนี้ ระบุว่า ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่ควบคุมการแพร่ระบาด ได้ดี และผ่านพ้นรอบที่หนึ่งแล้ว ไม่มีผู้ติดเชื้อภายในประเทศติดต่อกันมากกว่าสองสัปดาห์ และจะเริ่มมาตรการผ่อนคลายระยะที่สี่ ตั้งแต่วันที่ 15 มิ.ย.63 ซึ่งจะดูแลป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์การระบาดในรอบที่สองอย่างเข้มงวด
ด้วยสถานการณ์ที่ดีขึ้น และความพยายามหาทางสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว แนวทาง travel bubble หรือ การจับคู่ประเทศ เชื่อมต่อการเดินทางระหว่างประเทศที่จัดการโรคโควิด-19 ได้ดีเท่า ๆ กัน น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แจ้งว่า ที่ประชุม ศบค.เห็นชอบตามที่ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.ท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ และอยู่ในขั้นการหารือระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อหาแนวทางในการเจรจากับประเทศกลุ่มเป้าหมาย ข้อปฏิบัติ รวมถึงการเฝ้าระวังโรคระบาด เพื่อให้ ศบค. พิจารณาอีกครั้งในวันที่ 17 มิ.ย.63
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ประเทศไทยมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว แม้เจอสถานการณ์โควิด-19 ก็รับมือได้อย่างดี เชื่อว่าด้วยศักยภาพด้านการท่องเที่ยวและความสามารถด้านสาธารณสุขของไทย จะกระตุ้นให้ชาวต่างชาติมองเป็นจุดแข็งของไทย การท่องเที่ยวจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้เร็ว เมื่อสถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลกดีขึ้น
คนที่เผชิญความลำบากจากผลกระทบของโควิด จะได้มีความหวังทางบวกขึ้นบ้าง ติดลบซะตั้ง 3 – 4 เดือน
แต่การติดเชื้อโดยผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศ มีอยู่ 1 ราย นักเรียนหญิงไทยจากสหรัฐอเมริกา ถึงไทยวันที่ 8 มิ.ย.63 เข้า State Quarantine ตรวจพบเชื้อวันที่ 12 มิ.ย.63 ไม่มีอาการ
ผู้ติดเชื้อสะสม 3,135 ราย รักษาหายแล้ว 2,987 ราย (95.28%) ไม่มีผู้ป่วยกลับบ้านในวันนี้ ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม ยอดคงที่ 58 ราย
รายงานผู้ติดเชื้อทั่วโลก เพิ่มขึ้นวันนี้ 127,804 ราย ยอดรวม 7,860,752 ราย เสียชีวิตไปแล้ว 432,200 ราย โดย ศ.ดร.นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนา ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ( ศบค.) รายงานการศึกษาการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 แต่ละประเทศ มีประเด็นสำคัญ ดังนี้
1.ประเทศที่อยู่ในระยะการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ที่กราฟให้เห็นความชัน ยังไม่ถึงจุดสูงสุดของการระบาด หรืออยู่ในระยะการระบาดสูงสุด ส่วนใหญ่อยู่ในทวีปอเมริกาใต้ ลาตินอเมริกา เอเชียใต้ และตะวันออกกลาง เช่น ประเทศบราซิล เม็กซิโก ชิลี เปรู แอฟริกาใต้ รัสเซีย อินเดีย บังคลาเทศ ปากีสถาน รวมถึงประเทศอิหร่าน และอินโดนีเซีย
2. ประเทศที่ใช้แนวทางปล่อยให้คนติดเชื้อ ได้แก่ ประเทศสวีเดน
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หวังให้ travel bubble เป็นจุดเริ่มต้นรองรับชาวต่างชาติที่จะเข้ามาในประเทศ ระยะแรกจะเปิดรับกลุ่มนักธุรกิจและกลุ่มที่จะเข้ามารักษาพยาบาลในไทย โดยไม่มีการกักตัว 14 วัน แต่มีมาตรการอื่นรองรับ เพื่อสร้างความมั่นใจในความปลอดภัย อาจกำหนดพื้นที่ ที่นักท่องเที่ยวไม่สามารถไปได้ มีการติดตามตัวผ่านแอพพลิเคชัน ตลอดเวลาที่อยู่ในเมืองไทย คาดว่าชาวต่างชาติจะเข้ามาวันละ 1,000 คน โดยเลือกจากประเทศกลุ่มเป้าหมายที่ปลอดภัย ควบคุมโรคได้ มีการ ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ก่อนออกจากประเทศต้นทาง และตรวจอีกครั้งเมื่อถึงไทย และเมื่อดำเนินการไปสักระยะ ควบคุมสถานการณ์ได้ดี ก็จะพิจารณานักท่องเที่ยวกลุ่มอื่นเข้ามาตามลำดับ
เมื่อคุมการระบาดได้ ทุกระยะที่ผ่อนคลาย สถานการณ์ก็ไม่เลวร้าย จึงถึงเวลาเร่งรัดสร้างรายได้