มือใหม่ควรรู้ ยารักษาโรคของมนุษย์ อาหาร ขนมแสนอร่อย อาจเป็นพิษร้ายแรง ทำให้เจ็บป่วยถึงขั้นสูญเสียน้องแมวแสนรัก
1. องุ่นและลูกเกด การให้น้องแมวกินองุ่น หรือลูกเกดเมล็ดเล็กๆ นั้น จะทำให้น้องแมวไตวาย หากแพ้มาก ถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย
2. ยาต้านเศร้า เช่น เอฟเฟ็กซอร์ โพรแซค ไซม์บาลตา และโซโลฟต์ เป็นอันตรายอย่างมากและอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง ด้วยยาดังกล่าวมีกลิ่นดึงดูดให้แมวสนใจ และอาจกินเข้าไป ยาต้านเศร้าสำหรับมนุษย์แต่กลับทำให้แมวรู้สึกซึมเศร้า ตัวสั่น ชัก อาเจียน ท้องเสีย และร่างกายร้อนจัดได้
3. ยาแก้ปวด ยาพาราเซตามอน เนโปรเซน หรือไอบูโพรเฟน แม้เพียงครึ่งเม็ด เนื่องจากยาเหล่านี้จะไปทำลายกระเพาะอาหาร และไต ก็อาจทำให้แมวเสียชีวิตได้
4.แอลกอฮอล์ แม้เพียงปริมาณเล็กน้อย แอลกอฮอล์ก็สามารถส่งผลกระทบร้ายแรงต่อแมวได้ ทำให้เกิดอาการอาเจียน ท้องเสีย ง่วงซึม และสูญเสียการทรงตัว หากแมวกินแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น หายใจลำบาก โคม่า และเสียชีวิตได้
5. เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน คาเฟอีนในเครื่องดื่ม เช่น กาแฟ ชา หรือน้ำอัดลมที่มีส่วนผสมคาเฟอีน และโซดา ทำให้แมวอาเจียน ท้องเสีย หัวใจเต้นเร็ว และกระสับกระส่ายได้ ได้รับคาเฟอีนในปริมาณมาก อาจเกิดอาการรุนแรง เช่น ชัก หมดสติ และเสียชีวิตได้
6. ช็อกโกแลต มีสารที่เรียกว่าเมทิลแซนทีนซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ทางเดินหายใจเกิดการคลายตัว มักนำมารักษาโรคหอบหืด ซึ่งสารนี้เป็นพิษต่อสัตว์เลี้ยง ทำให้เกิดผลข้างเคียงคือ อาเจียน ท้องร่วง อาการสั่นชัก อาจทำให้เสียชีวิตได้อีกด้วย ความเข้มข้นของสารเมทิลแซนทีลจะแตกต่างกันไปตามช็อกโกแลตประเภทต่าง ๆ ซึ่งในหมวดหมู่ช็อกโกแลต “ผงโกโก้” จะอันตรายมากที่สุด
7. มะพร้าว น้ำมะพร้าว เนื้อมะพร้าว หรือมะพร้าวแปรรูปอย่างกะทิสด มะพร้าวก็มีโพแทสเซียมสูงเกินกว่าที่แมวควรจะได้รับ และแม้น้ำมันมะพร้าวจะช่วยแก้ปัญหาผิวหนังน้องแมวได้บ้าง แต่ไม่คุ้มกับการต้องสูญเสียน้องแมวไปตลอดกาล
ทั้งนี้โภชนาการในการเสริมสร้างสุขภาพของเจ้าตัวน้อย ต้องประกอบไปด้วยโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน และแร่ธาตุ สำหรับปริมาณอาหารที่เหมาะสมจะขึ้นอยู่กับ อายุ น้ำหนัก ระดับกิจกรรม และสุขภาพโดยรวม ซึ่งอาหารทีทาสทานอร่อย ก็ไม่ได้เหมาะสำหรับน้องแมวเสมอไป
การกำหนดปริมาณ และการเลือกอาหารที่เหมาะสม การให้อาหารมากเกินไปอาจนำไปสู่โรคอ้วน....ต้นตอของปัญหาสุขภาพอื่น ๆ อีกมากมาย ควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อกำหนดแนวทางการให้อาหาร และจัดการ กับความต้องการของเจ้าเหมียวที่คุณรักจะเป็นทางออกที่เหมาะสำหรับทาสมือใหม่ค่ะ