เภสัชกรเตือนผู้ป่วยใช้ยาไอบูโพรเฟน ต้องคอยสังเกตอาการ หากมีอาการแพ้ควรรีบพบแพทย์ทันที
เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. ภญ.เบญญาภา เพชรปวรรักษ์ งานเภสัชกรรมคลินิก คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยถึงกรณีหญิงสาวรายหนึ่งมีอาการแพ้ยาไอบูโพรเฟน อย่างรุนแรง กับทีมข่าวนิว18 ว่า ยาไอบูโพรเฟน มีฤทธิ์ลดการอักเสบ แก้ปวด จะใช้ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดไมเกรน ปวดฟัน แต่การใช้ยาผู้ป่วยต้องระมัดระวังและจะต้องแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรมหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยถึงกรณีหญิงสาวรายหนึ่งมีอาการแพ้ยาไอบูโพรเฟน อย่างรุนแรง กับทีมข่าวนิว18 ว่า ยาไอบูโพรเฟน มีฤทธิ์ลดการอักเสบ แก้ปวด จะใช้ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดไมเกรน ปวดฟัน แต่การใช้ยาผู้ป่วยต้องระมัดระวังและจะต้องแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เนื่องจากยาไอบูโพรเฟน อาจมีผลข้างเคียง หรือ ทำให้เกิดอาการแพ้ได้ในกลุ่มผู้ป่วยโรคหอบหืด โรคกระเพาะอาหาร โรคไต และ กลุ่มประชากรพิเศษ เช่น หญิงตั้งครรภ์ ส่วนกรณีหญิงสาวรายดังกล่าว ที่มีอาการปวดฟันก็สามารถใช้ยาไอบูโพรเฟนได้ หากฟันมีอาการอักเสบ ปวดบวม ซึ่งหากเป็นการผ่าฟันคุดก็อาจจะมีอาการดังกล่าวเกิดขึ้นได้ แต่เมื่อผู้ป่วยรับประทานยาแล้วเกิดการแพ้ยา ถือเป็นอาการที่แพทย์ไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า แต่ผู้ป่วยจะต้องสังเกตอาการตัวเอง ว่าหลังจากรับประทานยามีอาการใดเกิดขึ้นกับร่างกายบ้างและหากมีอาการผิดปกติต้องรีบไปพบแพทย์ในทันที
ภญ.เบญญาภา กล่าวต่อว่า โดยทั่วไปของอาการแพ้จะเริ่มจากอาการที่ไม่ค่อยรุนแรง เช่น อาการคัน มีผื่นแพ้ตามร่างกาย หรือ หากมีอาการที่เกี่ยวข้องกับผิวหนัง มีไข้ อาการบมตามอวัยวะต่างๆ มีอาการหอบเหนื่อย ที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและเฉียบพลันควรรีบไปพบแพทย์ ส่วนอาการแพ้ยาขั้นรุนแรงไม่ได้เกี่ยวกับปริมาณยาที่ผู้ป่วยรับประทาน แต่ขึ้นอยู่กับปฏิกริยาไวของภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยแต่ละคน ซึ่งไม่ได้เกิดกับทุกคน สำหรับหญิงสาวรายดังกล่าวเป็นอาการแพ้ยาขั้นรุนแรง เรียกว่ากลุ่มอาการ Severe cutaneous adverse reaction (SCAR) เป็นอาการแพ้ขั้นรุนแรงที่มีอาการแสดงออกทางผิวหนัง โดยมีระยะเวลาแสดงอาการมีตั้งแต่ 1-2 วัน หรือ 1-2 เดือน อย่างไรก็ตาม ขอแนะนำผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาไอบูโพรเฟน หรือ ยากลุ่มอื่นๆ ควรระมัดระวังในการใช้ยาในช่วงแรกๆ ผู้ป่วยสังเกตอาการว่ามีผลข้างเคียงหรือไม่หลังใช้ยา หากพบความผิดปกติให้รีบพบแพทย์ทันที