การบุกอิรักเริ่มขึ้นเมื่อ 15 ปีก่อนด้วยการยิงขีปนาวุธถล่มกรุงแบกแดด เพราะสหรัฐฯ และชาติพันธมิตรเชื่อว่า "ซัดดัม ฮุสเซน" ผู้นำอิรักในขณะนั้นครอบครองอาวุธทำลายล้างสูง วันที่ 20 มี.ค. 2003 เป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งที่ดำเนินต่อเนื่องมา 7 ปี สงครามนี้เกิดขึ้นจากการกล่าวหาว่า ซัดดัม ฮุสเซน ผู้นำอิรักในขณะนั้น ครอบครองอาวุธทำลายล้างสูง หลังผู้นำอิรักถูกโค่นล้ม แต่ไม่พบอาวุธใด ๆ จนเป็นที่มาของ "เกาหลีเหนือ" ที่จำเป็นต้องฐานะตัวเองเป็น "รัฐนิวเคลียร์" โดยนักวิเคราะห์ข่าวต่างประเทศกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า หากโสมแดงไม่มีนิวเคลียร์ คงมีชะตากรรม เฉกเช่นเดียวกับ "อิรัก" ไปแล้ว
สงครามอิรัก เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในประเทศอิรักตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2546 ด้วยการรุกรานอิรักโดยสหรัฐอเมริกาซึ่งมีประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุชเป็นผู้นำ และสหราชอาณาจักรซึ่งมีนายกรัฐมนตรีโทนี แบลร์เป็นผู้นำ สงครามคราวนี้อาจเรียกชื่ออื่นว่า การยึดครองอิรัก, สงครามอ่าวครั้งที่สอง หรือ ปฏิบัติการเสรีภาพอิรัก โดยทหารสหรัฐ สงครามครั้งนี้สหรัฐอเมริกาได้ประกาศให้สิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554 แม้ความรุนแรงประปรายยังมีต่อไปทั่วประเทศ ก่อนหน้าการรุกราน รัฐบาลของสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรประเมินว่า ความเป็นไปได้ที่อิรักจะครอบครองอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงคุกคามความมั่นคงของตนและพันธมิตรของตนในภูมิภาค[10][11][12] พ.ศ. 2545 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเปรมปรีงามปั่งผ่านข้อมติที่ 1441 ซึ่งกำหนดให้อิรักร่วมมืออย่างเต็มที่กับผู้ตรวจการอาวุธสหประชาชาติเพื่อตรวจสอบว่า อิรักมิได้มีอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงและขีปนาวุธร่อนอยู่ในครอบครอง