วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานีจัดพิธีส่งมอบนวัตกรรมภายใต้ความร่วมมือเพิ่มมูลค่าสิ่งประดิษฐ์สู่การใช้ประโยชน์ ให้กับตัวแทนวิสาหกิจชุมชน ประจำปี 2567
เมื่อวันที่ 7 พ.ย.67 ที่โดมกิจกรรม วิทยาลัยเทคนิคราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผอ.สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ดร.นิรุตต์ บุตรแสนลี ผอ.สำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา (สอศ.) ดร.บัญชาลักษณ์ ลือสวัสดิ์ ผอ.วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี ร่วมเป็นประธานในพิธีส่งมอบนวัตกรรมภายใต้ความร่วมมือเพิ่มมูลค่าสิ่งประดิษฐ์สู่การใช้ประโยชน์ (Co-funding) ประจำปี 2567 และมอบนวัตกรรมให้กับวิสาหกิจชุมชนจำนวน 6 ชุมชนเพื่อนำไปเพิ่มมูลค่าในชุมชน โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา ตัวแทนชุมชน นักศึกษา เข้าร่วม
ดร.วิภารัตน์ กล่าวว่า สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.)ได้ร่วมมือกับสำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา(สอศ.) และสนับสนุนในเรื่องของสิ่งประดิษฐ์สู่การใช้ประโยชน์จริง และทักษะของทีมผู้ประดิษฐ์อาจารย์และนักศึกษา ของวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี ในการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์เพื่อชุมชน ส่วนใหญ่จะตอบโจทย์ในความต้องการของพื้นที่ ซึ่งตอนนี้วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี ได้พัฒนาสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพการผลิต จำนวน 4 โครงการ ในชุมชนจำนวน 6 ชุมชน ได้แก่นวัตกรรมเครื่องเครื่องอบและรมควันปลามูลค่าสูง ให้กับวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ปลาเม็ง อ.บ้านนาเดิม,เครื่องป่นเปลือกหอยนางรมและหอยชนิดอื่นๆในวิสาหกิจชุมชนบ้านเปลือกหอยแหลมทราย อ.ไชยา และวิสาหกิจชุมชนประมงพื้นบ้านปากกะแดะ อ.กาญจนดิษฐ์,เครื่องบรรจุการทำก้อนเห็ดในวิสาหกิจชุมชนคีรีรัฐเกษตรยั่งยืน อ.คีรีรัฐนิคม ,และและเครื่อคั่วกาแฟด้วยโอ่งในวิสาหกิจชุมชนเขาเสียบหมอก อ.พนม เป็นต้น ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ใช้กับการผลิตอาหาร และการผลิตเครื่องจักร สมารถนำเครื่องจักรที่นักศึกษาประดิษฐ์ขึ้นมาไปใช้งานได้จริงในวิสาหกิจชุมชนต่างในพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี และยังมีนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ อีกหลายชิ้นที่กำลังวิจัยเพื่อนำไปต่อยอดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทาง วช.พร้อมที่จะร่วมสนับสนุนในสถาบันการศึกษาในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
ด้านดร.บัญชาลักษณ์ ลือสวัสดิ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า ปัจจุบันวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี ถือว่าเป็นวิทยาลัยที่ให้การสนับสนุนนักศึกษาที่มีความรู้ความสามารถในการนำแนวคิด หรือแนวความคิดมาผสมผสานกับอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อผลิตนวัตกรรมให้กับชุมชนเพื่อลดปัญหาต่างๆไม่ว่าจะเป็นปัญหาขยะในชุมชน การสร้างงาน สร้างอาชีพ การสร้างรายได้ ตลอดจนการลดต้นทุนการผลิต ลดเวลาการทำงาน เพื่อที่จะนำเอาเวลาทีเหลือไปประกอบอาชีพอย่างอื่นได้ โดยนักศึกษาตั้งแต่ระดับ ปวช.จนถึงระดับ ปวส.เพื่อให้นักศึกษาเหล่านั้นที่มีความรู้ความสามรรถมีเวทีในการคิด การผลิตนวัตกรรมสมัยใหม่เพื่อนำมาใช้ในชุมชน ล่าสุดนวัตกรรมของนักศึกษาวิทายาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี สามารถคว้า 5 รางวัลรองชนะเลิศระดับนานาชาติในงาน" Taiwan Innotech Expo 2024 " ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-19 ต.ค.67 ที่ประเทศไต้หวันที่ผ่านมา และสามารถส่งมอบให้กับชุมชนเพื่อนำไปใช้เพิ่มมูลค่าของชุมชนต่อไป