นักวิทย์สหรัฐฯ ใช้ชิ้นส่วน "นก" พัฒนา "โดรน" หวังบินกลมกลืนกับสัตว์ป่า

2024-11-20 15:10:08

นักวิทย์สหรัฐฯ ใช้ชิ้นส่วน "นก" พัฒนา "โดรน" หวังบินกลมกลืนกับสัตว์ป่า

Advertisement

ฮิวสตัน, 20 พ.ย. (ซินหัว) — คณะนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนิวเม็กซิโกเทคในรัฐนิวเม็กซิโกของสหรัฐฯ ได้พัฒนาโดรนที่ใช้ชิ้นส่วนจากนกจริง

รายงานระบุว่าโดรนสัตว์สตัฟฟ์ (taxidermy drone) หรือโดรนที่มีซากสัตว์ตายแล้วเป็นส่วนประกอบถูกออกแบบให้มีรูปลักษณ์และการบินเหมือนนกจริง โดยมีขนและปีกที่กระพือได้จริง ซึ่งช่วยให้โดรนนี้กลมกลืนไปกับสัตว์ป่าและช่วยป้องกันนกบินเข้าน่านฟ้าการบินหรือชนกับเครื่องบิน

ดร. มอสตาฟา ฮัสซานาเลียน หัวหน้านักวิจัยและศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมเครื่องกลของมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งเป็นสถาบันเหมืองแร่และเทคโนโลยีนิวเม็กซิโก เชื่อว่าโดรนเหล่านี้สามารถช่วยชีวิต ประหยัดเงิน และรักษาสิ่งแวดล้อมได้

ทีมวิจัยของฮัสซานาเลียนใช้เวลา 2 ปี ในการพัฒนาโดรนและหุ่นยนต์ไก่ฟ้า เป็ดแมลลาร์ด และนกพิราบ โดยโดรนเหล่านี้ยังอยู่ระหว่างการทดสอบ และปัจจุบันทีมวิจัยกำลังพิจารณาขออนุญาตบินโดรนเหล่านี้ร่วมกับนกจริงในสภาพแวดล้อมจริง

รายงานเสริมว่าหุ่นจำลองนกที่มีกลไกในการเคลื่อนไหว (animatronic bird) อาจถูกใช้ศึกษาโครงสร้าง สีสัน และการสื่อสารของนกได้ นอกเหนือจากระบบนิเวศธรรมชาติอื่นๆ