ตำแหน่งปวดหัวบอกโรคได้จริงหรือ?
อาการปวดหัวเป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนทั่วไป แม้ส่วนมากจะไม่ก่อให้เกิดอันตราย และสามารถหายเองได้จากการกินยาหรือพักสักระยะ แต่ยังมีอาการ ปวดศีรษะ บางประเภทที่อาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรงบางอย่าง ปวดหัวแบบไหนไม่ควรนิ่งนอนใจ และจริงไหมที่ ตำแหน่งปวดหัวบอกโรค ได้ เรามาหาคำตอบกัน
อาการปวดหัว คืออะไร
อาการปวดบริเวณศีรษะหรือลำคอส่วนบน เกิดได้หลายรูปแบบ เช่น ปวดตลอดเวลา ปวดเป็นพัก ๆ ปวดตุ้บ ๆ ปวดแปล๊บ เป็นอาการที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย
สาเหตุของอาการปวดหัว
แม้จะเป็นอาการ ปวดศีรษะ เหมือนกัน แต่อาจเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกัน ดังนี้
-กล้ามเนื้อตึงตัวรอบศีรษะ
-โรคไมเกรน
-โรคอื่น ๆ เช่น มีสิ่งผิดปกติในสมอง
ตำแหน่งปวดหัวบอกโรค ได้จริงหรือ
ตำแหน่งปวดหัวสามารถบอกโรคได้ในระดับหนึ่ง
-ปวดหัวเหมือนมีอะไรมารัด เกิดจากกล้ามเนื้อตึงตัวหรือความเครียด เป็นอาการปวดที่พบได้บ่อย และไม่ได้มีความร้ายแรง
-ปวดหัวข้างเดียว อาจเป็นไมเกรนหรือไม่ใช่ก็ได้
-ปวดจากบ่าลามขึ้นไปที่หัว เป็นอาการของโรคออฟฟิศซินโดรม
มีความเชื่อที่แชร์ต่อ ๆ กันมาว่าตำแหน่งของการปวดหัวสามารถบอกได้ว่าเป็นโรคอะไรอยู่ ความเชื่อเหล่านี้จริงหรือไม่
ความเชื่อที่ 1 ปวดหัวข้างเดียวเป็นไมเกรน ความเชื่อนี้ไม่จริง ปวดไมเกรนมีลักษณะจำเพาะหลายอย่าง การปวดหัวข้างเดียวเป็นเพียงหนึ่งในอาการของไมเกรนเท่านั้น แต่คนไข้ยังต้องมีอาการอื่นๆ ตัด อีกถึงจะเรียกได้ว่าเป็นโรคไมเกรนจริง ๆ โรคนี้ส่วนใหญ่พบในวัยนักศึกษา วัยทำงาน แต่หากมีอายุ 40 ปีขึ้นไป แล้วไม่เคยปวดหัวมาก่อนมักไม่ใช่อาการของไมเกรน
ความเชื่อที่ 2 ปวดตรงโหนกแก้ม กลางใบหน้า เป็นไซนัสอักเสบ ความเชื่อนี้ไม่จริง อาการปวดตรงโหนกแก้มหรือปวดตรงใบหน้าเป็นอาการที่เกิดขึ้นกับคนไข้ไซนัสอักเสบบางราย แต่การปวดบริเวณนี้ยังเกิดจากสาเหตุอื่นได้ด้วย เช่น การปวดจากเส้นประสาทคู่ที่ 5 มักจะปวดบริเวณครึ่งล่างของใบหน้า มีความปวดร้าวเหมือนปวดฟัน
ความเชื่อที่ 3 ปวดหัว ปวดหู แถมปวดกราม เป็นโรคข้อต่อขากรรไกรอักเสบ ความเชื่อนี้ไม่จริง อาการปวด 3 อย่างนี้อาจเกิดจากสาเหตุอื่นได้ เช่น ปวดหู อาจเป็นหูชั้นกลางหรือหูชั้นนอกอักเสบ หากปวดกรามอาจเกิดจากการกัดฟันตอนนอน แล้วส่งผลให้ปวดตอนกลางวัน อาการเหล่านี้เป็นโรคใกล้ตัวที่พบได้บ่อย ซึ่งหลายคนมองข้ามไป
ความเชื่อที่ 4 ปวดหัวรุนแรง ฉับพลัน เป็นโรคอันตรายทางสมอง ความเชื่อนี้ไม่จริง เพราะหากเป็นอาการปวดหัวที่บ่งบอกถึงโรคทางสมอง คนไข้จะต้องมีอาการอื่นด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียนอย่างรุนแรง ซึม อ่อนแรง
อาการปวดหัวที่ต้องระวัง
-ปวดหัวร่วมกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน
-ปวดหัวตอนกลางคืนจนทำให้ตื่น
-ปวดหัวแบบมีอาการทางระบบประสาทร่วมด้วย เช่น ชาครึ่งซีก ปากเบี้ยว อ่อนแรงครึ่งซีก ซึม รู้สึกตัวน้อยลง ชัก
แม้การกินยาเมื่อเริ่มมีอาการปวดหัวไมเกรนจะเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาโรคนี้ แต่ปัจจุบันยังมีการรักษาแบบ ตัด อีกแบบ เป็นการรักษาแบบป้องกัน โดยแพทย์จะให้ยาที่ช่วยลดความถี่ของการเกิดอาการปวดหัว ทำให้คนไข้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
อ.พญ.ธนนันท์ ธรรมมงคลชัย
สาขาวิชาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล