กมธ.หนุนใช้วัคซีนคุมกำเนิดช้าง

2025-01-09 18:47:11

กมธ.หนุนใช้วัคซีนคุมกำเนิดช้าง

Advertisement

กมธ.วิสามัญแก้ปัญหาช้างป่าหนุนใช้วัคซีนคุมกำเนิดช้าง ปรับปรุงหลักเกณฑ์ ข้อบังคับกฎหมายให้สอดคล้องสถานการณ์ความรุนแรง 

เมื่อวันที่ 9 ม.ค.68 ที่รัฐสภา นายชุติพงศ์ พิภพภิญโญ รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาติดตามผลการดำเนินงานและศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาช้างป่าอย่างยั่งยืน รวมทั้งมาตรการเยียวยาความเสียหายให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ คนที่หนึ่ง พร้อมด้วย น.ส.ญาณธิชา บัวเผื่อน โฆษกคณะกรรมาธิการและนายดิเรก จอมทอง เลขานุการคณะคณะกรรมาธิการ แถลงถึงผลการประชุมคณะกรรมาธิการ ตามที่สภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 26 (ชุดปัจจุบัน) ได้เห็นชอบให้ตั้ง กมธ.วิสามัญฯ ซึ่ง กมธ.ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาช้างป่าอย่างยั่งยืนไว้ 2 แนวทาง คือ 1. การพิจารณาผลการดำเนินงานตามข้อสังเกตแนบท้ายรายงานของ กมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาและแก้ไขปัญหาช้างป่าสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25  2. การพิจารณาศึกษารายละเอียดที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมเพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงระเบียบหลักเกณฑ์ ข้อบังคับทางกฎหมาย ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสถานการณ์ความรุนแรงจากภัยช้างป่า

นายชุติพงศ์ กล่าว9jvว่า กมธ. มีการประชุม โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม รวมทั้งลงพื้นที่ติดตามและรับฟังปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาข้างป่าจำนวน 12 จังหวัด อาทิ ฉะเชิงเทรา ปราจีนบูรี จันทบุรี ชลบุรี ระยอง สระแก้ว ตราด ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนว่า ปัจจุบันมีช้างป่าได้ออกจากป่าอนุรักษ์เข้าไปในพื้นที่อยู่อาศัย โรงเรียน วัด พื้นที่ทำการเกษตรมากขึ้น หลายพื้นที่พบว่ามีช้างป่าอาศัยอยู่ประจำในพื้นที่และไม่ยอมกลับเข้าป่าอนุรักษ์ สอดคล้องกับสถิติความเสียหายโดยเฉพาะจำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากช้างป่าที่จำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

นายชุติพงศ์ กล่าวอีกว่า กมธ.ได้ให้ความสำคัญต่อจำนวนประชากรข้างป่าและแนวทางการแก้ไขปัญหาด้วยการควบคุมประชากรช้างป่าโดยได้ติดตามความคืบหน้าในการทดลองวัคชีน SpayVac เพื่อควบคุมประชากรช้างป่า โดยเชิญผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล อาทิ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ศูนย์สุขภาพข้างและสัตว์ป่า คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ข้อสรุปว่าการทดลองฉีดวัคชีนในช้างป่า มีการเก็บเลือดเพื่อตรวจแอนติบอดี้ก่อนและหลังฉีดวัดซีน และวางแผนการเก็บเลือดเพื่อตรวจแอนติบอดี้ไปอีก 7 ปี ซึ่งผลการทดลองหลังจากฉีดวัคชีนพบว่า ช้างที่ได้รับการฉีดวัคชีนไม่มีการอักเสบใดๆ มีความปลอดภัยต่อสุขภาพช้าง และไม่มีผลกระทบใด ๆ ต่อพฤติกรรมของช้าง เมื่อฉีดวัคซีนในช้างที่ท้อง ไม่มีผลกระทบใดๆกับช้างท้อง  กมธ.จึงขอเสนอให้ใช้วัคซีนคุมกำเนิดในช้างป่าเพื่อเป็นทางเลือกในการควบคุมประชากรช้างป่าและลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับช้าง และขอให้กรมอุทยานแห่งชาติ ฯกำหนดกรอบเวลาการดำเนินการที่ชัดเจนเพื่อแก้ไขปัญหาช้างป่าโดยเร็วต่อไป