การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ประกอบด้วยเรือจำนวนทั้งสิ้น 52 ลํา โดยมีเรือที่สําคัญเป็นเรือพระที่นั่งได้แก่ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เป็นเรือพระที่นั่งทรง เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ 9 และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ เป็นเรือพระที่นั่งรอง
นอกจากนี้ ยังมีเรือพระราชพิธีอื่นด้วยเช่น เรือรูปสัตว์ เรือดั้ง เรือแซง เป็นต้น สําหรับกําลังพลประจําเรือพระราชพิธีได้คัดเลือกกําลังพลจากหน่วยต่าง ๆ ของกองทัพเรือ จํานวน 2,200 นาย
ทั้งนี้ การจัดรูปขบวนจัดตามรูปแบบโบราณราชประเพณีทุกประการโดยแบ่งการจัดรูปขบวนเรือออกเป็น 5 ริ้ว 3 สาย
ริ้วสายกลาง ซึ่งเป็นเรือสายสำคัญ ประกอบด้วย เรือพระที่นั่ง 4 ลำ มีเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9
และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ นอกจากนี้มีเรืออีเหลือง เป็นเรือกลองนอก เรือแตงโม ซึ่งเป็นเรือของผู้บัญชาการขบวนเรือ เป็นเรือกลองใน พร้อมด้วยเรือตำรวจนอก และเรือตำรวจใน
ริ้วสายใน ขนาบข้างสายเรือพระที่นั่ง มีเรือทองขวานฟ้าและเรือทองบ้าบิ่น เป็นเรือประตูหน้า เรือเสือทยานชล และเรือเสือคำรณสินธุ์ เป็นเรือพิฆาต เรือรูปสัตว์ 8 ลำ และปิดท้ายสายในด้วยเรือเอกไชยเหินหาว และเรือเอกไชยหลาวทอง ซึ่งเป็นเรือคู่ชัก
ริ้วสายนอก ประกอบด้วยเรือดั้ง และเรือแซง สายละ 14 ลำ รวมทั้งสิ้น 52 ลำ
เรือพระราชพิธี จํานวน 52 ลํา เรือทุกลําทำจากไม้ มีอายุในการสร้างมาก โดยเฉพาะเรือพระที่นั่ง ทั้ง 3 ลํา ได้แก่ เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ สร้างในรัชกาลที่ 5 มีอายุกว่า 102 ปี,เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ สร้างในรัชกาลที่ 5 แล้วเสร็จสิ้นในรัชกาลที่ 6 มีอายุ 108 ปี,เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช สร้างในรัชกาลที่ 6 มีอายุ 95 ปี,เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 ซึ่งสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2539 มีอายุ 23ปี ส่วนเรืออื่นๆ ในขบวน โดยเฉพาะเรือรูปสัตว์ แต่ละลํามีอายุการสร้างนับร้อยปี
ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://phralan.in.th