ทีมนักบรรพชีวินวิทยาจีน ค้นพบฟอสซิลรอยเท้าไดโนเสาร์อายุราว 95 ล้านปี กว่า 240 รอย ในมณฑลฝูเจี้ยน ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ นับเป็นการพบร่องรอยสัตว์ดึกดำบรรพ์ ในเขตมณฑลที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับเกาะไต้หวัน เป็นครั้งแรก
คณะนักวิทยาศาสตร์จีนที่ค้นพบ เผยต่อสื่อมวลชน ในระหว่างการแถลงข่าว ที่เมืองฝูโจว เมืองเอกของมณฑลฝูเจี้ยน เมื่อวันอังคาร ว่า รอยเท้าไดโนเสาร์แห่งใหม่ อยู่ที่อำเภอฉางหัง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1,600 ตารางเมตร นับเป็นแหล่งที่พบรอยไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ที่สุด และหลายหลายสายพันธุ์ที่สุด เท่าที่เคยพบในประเทศจีน มีอายุอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลาย (Upper Cretaceous period) ประมาณ 94 ถึง 100 ล้านปีที่แล้ว เป็นรอยของไดโนเสาร์อย่างน้อย 8 ตัว รวมถึงประเภทซอโรพอดส์, เทโรพอดส์ ทั้งขนาดใหญ่และเล็ก และออร์นิโทพอดส์
รองศาสตราจารย์ ซิง หลี่ตา แห่งมหาวิทยาลัยธรณีศาสตร์จีน (China University of Geosciences) กล่าวว่า เมื่อพิจารณาจากขนาดของรอยเท้าที่พบ ซึ่งยาวประมาณ 8 ถึง 55 เซนติเมตร ไดโนเสาร์ทั้ง 8 ตัวที่ทิ้งรอยเท้าไว้ มีขนาดความยาวของลำตัว ระหว่าง 1 เมตรจนถึง 10 เมตร การค้นพบถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากรอยเท้าไดโนเสาร์ยุคครีเทเชียสตอนปลาย หาพบได้ยากมากในจีน
ญี่ปุ่นจ่อขยายฉุกเฉินโควิดอีก 7 จังหวัด
อินเดียเริ่มโครงการฉีดวัคซีนโควิด-19 ครั้งใหญ่สุดให้ ปชช. 1,300 ล้านคน
การตรวจวิเคราะห์ทางธรณีวิทยา บริเวณที่พบรอยเท้าไดโนเสาร์ชุดนี้ บ่งชี้ว่า ได้โนเสาร์เจ้าของรอยเท้ากำลังกินอาหาร และดื่มน้ำ อยู่ริมฝั่งทะเลสาบ.