“ทิพานัน” ย้อน “ปิยบุตร”ปลุกเลิก ม.112 สังคมควรเชื่อถือหรือไม่

2021-01-14 18:10:33

“ทิพานัน” ย้อน “ปิยบุตร”ปลุกเลิก ม.112 สังคมควรเชื่อถือหรือไม่

Advertisement

“ทิพานัน” ย้อน “ปิยบุตร”ยอมกลืนเลือดปลุกเลิก ม.112 สังคมควรเชื่อถือหรือไม่ 

เมื่อวันที่ 14 ม.ค. น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ อดีตผู้สมัคร ส.ส.กทม.เขตจอมทอง-ธนบุรี อดีตรองโฆษกพรรคพลังประชารัฐ  (พปชร.) กล่าวว่า กรณีนายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์เฟซบุ๊กเรียกร้องให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ยกเลิกโทษทางอาญาเพื่ออนาคตของชาติ โดยยอมกลืนเลือดที่เคยประกาศไม่มีนโยบายแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 สมัยก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่แล้วกลับมาสนับสนุนให้มีการยกเลิกกฎหมายดังกล่าว เมื่อนายปิยบุตรกลืนเลือดก้อนนั้นเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวไปแล้ว แล้วตอนนี้ขย้อนก้อนเลือดนั้นออกมาเคี้ยวอีกทีเพื่ออะไร เพื่อประโยชน์ส่วนตัวอีกหรือไม่ หรือเพื่อประโยชน์ของประชาชนจริงหรือ หลายครั้งสัจจะและหลักการทางความคิดอยู่ที่ไหน หรือสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้กลับไปกลับมาแล้วแต่สถานการณ์ แบบที่เรียกว่าอยู่เป็น ดังนั้นสังคมต้องพิจารณาว่าควรเชื่อถือหรือไม่

“ต้อม รชนีกร” เผยรักครั้งใหม่กินตับเด็กรุ่นน้องอายุห่างกว่า8ปี

เจ็บเหมือนรถชน "ต่าย อรทัย" เผยเลิกแฟนด้วยดี

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า สำหรับประเด็นกฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นบทกฎหมายเพื่อความคุ้มกันประมุขแห่งรัฐ ดังนั้นอย่าพยายามบิดเบือนเลยว่าเป็นมาตราที่ขัดกับหลักการใช้เสรีภาพในการแสดงออก เพราะมาตราดังกล่าวใช้บังคับเฉพาะกรณีที่การแสดงออกเกินขอบเขตไปจนเป็นการ หมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้าย ที่ทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ดังนั้นมาตราดังกล่าวจึงต้องมีเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้อื่นที่ถูกกล่าวพาดพิงด้วย นอกจากนี้นายปิยบุตรก็ยังเคยยืนยันเองโดยมีคำชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญเรื่องพิจารณาที่ 9/2562 ว่ายอมรับและจะไม่ลดทอนความคุ้มกันประมุขแห่งรัฐ ดังนั้นการออกมาเรียกร้องครั้งนี้ก็ถือว่ากลืนน้ำลายตนเองที่เคยพูดออกมาหรือว่าเป็นการให้ถ้อยคำเท็จต่อศาลรัฐธรรมนูญในขณะนั้นกันแน่ ถ้าต้องการทำเพื่ออนาคตของชาติ สามารถทำได้ทันทีโดยแนะนำชี้ทางไม่ให้แกนนำ กลุ่มผู้ชุมนุมใช้เสรีภาพในการแสดงออกจนเกินขอบเขตและก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่นจนถูกดำเนินคดีอาญามาตรา 112 อาจจะดีกว่า ทั้งนี้หากนายปิยบุตรทราบว่าผู้ที่อยู่เบื้องหลังการกระทำต่างๆ เป็นใคร ก็ขอให้ช่วยไปแจ้งให้บุคคลนั้นหยุดยุยงและใช้ผู้อื่นเป็นเครื่องมือ ใช้ความรู้กฎหมายที่มีสอนให้บุคคลดังกล่าวรู้จักขอบเขตของกฎหมาย สอนให้รู้ว่าการใช้เสรีภาพในการแสดงออกต้องอยู่ในขอบเขตของกฎหมายเป็นอย่างไร สอนให้รู้จักรับผิดชอบต่อการกระทำของตน เพราะกรรมเป็นเครื่องชี้เจตนานั่นเอง