โฆษก กอ.รมน.แจงยิบโครงการติดตั้งโซลาร์เซลล์ 5 แห่งในพื้นที่ อ.อมก๋อย ราคาสูงกว่า "พิมรี่พาย" เหตุมีอุปกรณ์ส่วนควบหลายส่วน มีโรงเก็บแบตเตอรี่ การลากสายไฟฟ้าไปยังครัวเรือนต่างๆ รวมถึงเสาไฟฟ้าในหมู่บ้าน
เมื่อวันที่ 15 ม.ค. ที่กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) พล.ต.ธนาธิป สว่างแสง โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) แถลงกรณีโครงการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ของ กอ.รมน.ภาค 3 ว่า การแถลงข่าวครั้งนี้เพื่อสร้างความเข้าใจ ไม่ได้เป็นการตอบโต้โดยยึดจากข้อมูลที่มีอยู่ ซึ่งเอกสารที่ถูกนำมาเผยแพร่ก่อนหน้านี้เป็นของ กอ.รมน.จริง เดิมมีการเสนอราคาไป 54 ล้านบาท แต่จากการลงพื้นที่ของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในปี 2562 ได้ปรับลดงบประมาณเหลือ 45,100,000 บาท เพื่อติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ จำนวน 215 กิโลวัตต์ พร้อมติดตั้งระบบกักเก็บพลังงาน (แบตเตอรี่ลิเธียม) ขนาดความจุ 998 กิโลวัตต์ – ชั่วโมง พร้อมติดตั้งโครงข่ายไฟฟ้าชุมชนระยะทาง 5,409 เมตร ติดตั้งเสาไฟฟ้าแสงสว่างพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 120 ชุด และโรงคลุมแบตเตอรี่ในพื้นที่ อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ จำนวน 5 แห่ง
สุดสลด! ด.ญ.11 ขวบถูกปู่ข่มขืนบอบช้ำ ตั้งครรภ์นอกมดลูกดับอนาถ
รวมเลขเด็ด 10 สำนัก งวดวันที่ 17 ม.ค.2564
หนุ่มโพสต์ถาม "ฌอนนายจำได้มั้ย" หลังต้นไม้ที่เคยปลูกไม่มีใบงอกสักใบ
ฝันกลับไทยเป็นจริง ยอดบริจาคช่วย "เชฟแต่ง" ทะลุ 8 ล้าน
พล.ต.ธนาธิป กล่าวต่อว่า โครงการนี้เปิดโอกาสให้กับผู้ประกอบการทั่วไปยื่นข้อเสนอที่ผ่านมามีผู้สนใจยื่นรับเอกสาร 4 ราย และมีผู้ยื่นเสนอราคา 3 ราย เมื่อตรวจสอบเอกสาร ตามเงื่อนไขปรากฏว่ามีผู้ยื่นเอกสารที่ถูกต้องครบถ้วน จำนวน 2 ราย คือ บริษัททีซัส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และ บริษัทบี.เอ็น.โซล่าร์ เพาเวอร์ จำกัด ส่วนกิจการร่วมค้า เอ็ม เอ็ม ซึ่งเสนอราคาต่ำสุดยื่นเอกสารไม่ถูกต้อง และไม่ครบถ้วน จำนวน 11 รายการ ซึ่งเป็นเอกสารที่เป็นสาระสำคัญต่อผลสำเร็จของโครงการจึงไม่ผ่านการคัดเลือกสำหรับ บริษัทบี.เอ็น.โซล่าร์ เพาเวอร์ จำกัด ที่เป็นผู้ชนะการประกวดราคาในราคา 45,100,000 บาท ที่ได้จดทะเบียนตั้งบริษัทในปี 2557 วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งบริษัทเพื่อประกอบกิจการด้านพลังงานทดแทนอย่างชัดเจน ประกอบกับมีผลงานการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ร่วมกับระบบกักเก็บพลังงานวงเงินไม่น้อยกว่า 12 ล้านบาทตามเงื่อนไข ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าบริษัทที่ชนะการประกวดราคามีนามสกุลเดียวกับแกนนำพรรคเพื่อไทยนั้น เรื่องดังกล่าวตนไม่ทราบ แต่การดำเนินการ กอ.รมน. ใช้วิธีการประกาศเชิญชวนให้บุคคลทั่วไปได้เข้ามาประกวดราคา เพราะฉะนั้นคนที่เข้ามาประกวดราคาจะนามสกุลใดก็แล้วแต่ก็ไม่ใช่ปัญหา แต่ขอให้มีรายละเอียดตรงตามที่กำหนด
พล.ต.ธนาธิป กล่าวอีกว่า การดำเนินการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ครั้งนี้ มีเป้าหมายหลักไปยังพื้นที่สาธารณประโยชน์ และพื้นที่ส่วนกลางของหมู่บ้าน ได้แก่ อาคารเรียน ศาลาประชาคมประจำพื้นที่ และเสาไฟส่องสว่างตามเส้นทางภายในหมู่บ้าน ส่วนโครงข่ายไฟฟ้าชุมชนที่ให้ประชาชนใช้งานภายในบ้านจะดำเนินการต่อไป ที่ผ่านมา กอ.รมน.ได้ดำเนินการตรวจรับงานแล้ว เมื่อเดือน ก.ย. 2563 ระบบสามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ พร้อมจัดทำบัญชีคุมอุปกรณ์การผลิตไฟฟ้าซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการโอน ส่งมอบระบบให้ทั้ง 3 อบต. ใช้งาน โดยเมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2563 กอ.รมน. ได้ส่งหนังสือการพิจารณายืนยันการรับมอบระบบ ไปยัง 3 อบต. ภายหลังจาก อบต. ตอบหนังสือยืนยันกลับมาแล้วจึงจะทำการโอนระบบให้ อบต. แล้วจึงจะบริหารจัดการระบบโครงข่ายไฟฟ้าชุมชน โดยการเชื่อมสายไฟเข้าไปในตัวบ้านเพื่อใช้งานต่อไป
ต่อข้อถามว่า มีการเปรียบเทียบราคาว่าทำไมของ กอ.รมน.แพงกว่าของพิมรี่พาย เน็ตไอดอลชื่อดัง พล.ต.ธนาธิป กล่าวว่า จะถูกหรือแพงสามารถตรวจสอบได้ ซึ่งต้องไปดูบัญชีราคามาตรฐานของกรมบัญชีกลาง ระเบียบกระทรวงการคลังตาม พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุปี 2560 อีกทั้งเหตุที่ราคาของ กอ.รมน.ที่สูงกว่า เพราะมีอุปกรณ์ส่วนควบหลายส่วน มีโรงเก็บแบตเตอรี่ การลากสายไฟฟ้าไปยังครัวเรือนต่างๆ รวมถึงเสาไฟฟ้าในพื้นที่หมู่บ้าน เมื่อถามอีกว่า เพจดังรายงานข้อมูลโครงการจัดทำแผงโซลาร์เซลล์ของ กอ.รมน. 20 จุดในพื้นที่ จ.ตาก และจ.แม่ฮ่องสอน เมื่อปี 2561 รวม 45,590,000 บาท ใช้งานไม่ได้สักจุด พล.ต.ธนาธิป กล่าวว่า ได้ตรวจสอบกับ กอ.รมน.ภาค 3 พบว่า เมื่อเดือน ก.ค. 2563 ได้มีการเข้าไปแก้ไขตรวจสอบทั้ง 20 จุดตามวงรอบปกติของประกันบริษัทที่ดูแล แต่เชื่อว่ามีบางจุดอาจต้องซ่อมแซมหรือใช้ไม่ได้ คงไม่ถึง 20 จุด