รพ.ศิริราช แจงแล้ว ยัน "6 เจ้าหน้าที่" ติดเชื้อโควิด-19 ไม่เกี่ยวข้องให้บริการรักษาผู้ป่วย
"หมอ"เตือนการ์ดอย่าตก"โควิดไทย"ยังระบาดรุนแรง
สอบพยาน 6 ปาก โยงฆ่าน้องบ๊อบบี้ พบกองไม้คล้ายกับที่ใช้ก่อเหตุห่างไป 100 เมตร
นายกฯยันรัฐบาลไม่ปิดกั้นบริษัทนำเข้าวัคซีนโควิด-19
เมื่อวันที่ 19 ม.ค. รศ.นพ.นริศ กิจรณรงค์ รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและกิจกรรมเพื่อสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ชี้แจง กรณีบุคลากรทางการแพทย์ของ รพ.ศิริราช ติดเชื้อโควิด-19 ว่า ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ยืนยันบุคลากรที่ติดเชื้อโควิด-19 เป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานในส่วนสนับสนุน ไม่มีหน้าที่ให้บริการรักษาผู้ป่วย และเป็นการติดเชื้อมาจากบริเวณชุมชนที่พักอาศัย ดังนั้นคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จึงดำเนินการการตรวจคัดกรองกลุ่มบุคคลที่เข้าข่ายสัมผัสใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่คนดังกล่าว (ความเสี่ยงสูง) จำนวน 4 ราย ปรากฏผลพบการติดเชื้อจำนวน 3 ราย จึงดำเนินการรับผู้ป่วยติดเชื้อ 4 รายไปพักรักษาตัวในโรงพยาบาลทันที จากนั้นทำการตรวจคัดกรองผู้ที่เข้าข่ายสัมผัสโรคกับผู้ติดเชื้อ (ความเสี่ยงสูง) ที่ไม่มีอาการจำนวน 50 ราย ทำ NP swab พบ ติดเชื้อ 2 ราย จึงรับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาล ส่วนอีก 48 รายให้งดการปฏิบัติงาน กักตัวที่บ้าน หรือสถานที่ที่โรงพยาบาลจัดให้ โดยที่ผู้ติดเชื้อทั้ง 6 รายไม่ได้ทำหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยแม้แต่น้อย
นอกจากนี้ยังตรวจคัดกรองผู้ที่เข้าข่ายสัมผัสโรคกับผู้ติดเชื้อ (ความเสี่ยงปานกลาง) จำนวน 20 รายที่ไม่มีอาการ ให้งดการปฏิบัติงาน กักตัวที่บ้าน หรือสถานที่ที่โรงพยาบาลจัดให้ ตรวจคัดกรองผู้ที่เข้าข่ายสัมผัสโรคกับผู้ติดเชื้อ (ความเสี่ยงต่ำ) ที่ไม่มีอาการจำนวน 4 ราย แนะนำให้ใส่หน้ากากอนามัยอย่างต่อเนื่อง บุคลากรผู้สัมผัสอื่นๆ ที่อยู่ภายในโรงพยาบาล จำนวน 44 ราย ทั้งหมดอยู่ระหว่างรอผลตรวจ NP swab และกักกันโรคตามแนวทางที่กำหนด ทำความสะอาดตึกอดุลยเดชวิกรม ซึ่งเป็นตึกที่ผู้ติดเชื้อปฏิบัติงานอยู่ ทั้งนี้ ตึกอดุลยเดชวิกรม ไม่ได้เป็นตึกที่ให้บริการผู้ป่วยโดยตรง จึงทำความสะอาดและพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ ประกอบด้วย พื้นที่ส่วนกลาง ราวบันได ลิฟท์และปุ่มลิฟท์ และมือจับประตูทุกชั้น ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 4 ม.ค.ที่ผ่านมา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้มีมาตรการลดจำนวนผู้ป่วยเพื่อลดความแออัด เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค รวมทั้งให้บุคลากรปฏิบัติงานจากบ้านได้ (work from home) โดยสลับกันมาทำงานทุก 2 สัปดาห์ เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อการให้บริการการรักษาผู้ป่วย