“ทนายบิลลี่”แจงไม่ลงชื่อแก้ ม.112 ชี้สถานการณ์ปัจจุบันต้องใช้การประนีประนอม คง ม.112 แต่ปรับแก้เนื้อหาหรือบทลงโทษ
สุดซึ้งหนุ่มตกงาน พาสุนัขคู่ใจ เดินเท้ากลับบ้านไปหาแม่ จ.เลย
"ปารีณา"เผยความในใจ วอนศาลเมตตา หลัง ป.ป.ช.ชี้มูล
หมอเฉลยแล้ว "น้ำมะพร้าว" เพิ่มพลังเซ็กส์จริงหรือ?
เมื่อวันที่ 11 ก.พ. นายจิรวัฒน์ อรัณยกานนท์ หรือ "ทนายบิลลี่" ส.ส.กทม. พรรคก้าวไกล ชี้แจงถึงกรณีที่เป็น 1 ใน 9 ส.ส. ของพรรคก้าวไกล ที่ไม่ได้ร่วมลงชื่อในการเสนอแก้ไขกฎหมายมาตรา 112 ซึ่งไม่เป็นไปตามเสียงส่วนใหญ่ของพรรคก้าวไกล ว่า เรื่องนี้ต้องขยายความ เพื่อที่จะให้เกิดความเข้าใจกับประชาชนที่มีความคาดหวังต่อพรรค ความคาดหวังต่อคนที่เลือกเรามา โดยประเด็นที่จะแสดงความเห็นนี้เป็นความเห็นส่วนตัว มีกรอบ คือ ต้องไม่กระทบกับพรรคและไม่กระทบกับสมาชิกที่ได้ลงชื่อไปทั้งหมด 40 กว่าคน โดยขออธิบายว่ามาตรา 112 ที่ผ่านมาไม่ใช่แค่ปัญหาที่เกิดขึ้นในวันนี้ ถ้าเราย้อนกลับไป ตั้งแต่ปี 2550 การใช้มาตรา 112 แม้กระทั้งรัฐบาลที่ผ่านกระบวนการประชาธิปไตย ถ้าเราเห็นสถิติในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดี เป็นการใช้ผิดวัตถุประสงค์ ดังนั้นรัฐบาลเองในหน่วยงานที่กำกับการใช้มาตรา 112 นำกฎหมายมาตรา 112 มาใช้ผิดวัตถุประสงค์ สิ่งที่จะเรียนคือว่า ตนเห็นด้วยกับการแก้ไขมาตรา 112 แต่มันยังมีมิติบางมุมในทางเนื้อหาและวิธีการแก้ไขซึ่งอาจจะเห็นต่างจากพรรค ซึ่งต้องเคารพมติพรรค แต่ในทางกลับกันต้องหันมาหาเอกสิทธิส่วนตัวของความเป็น ส.ส.เหมือนกัน ซึ่งภาพรวมที่ได้เรียนไปแล้ว ในรายละเอียดเล็กลงมาก็คือว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในทางการเมือง มันคือเกิดขึ้นกับมาตรา 112 ด้วย ว่ามันเป็นความเห็นที่แบ่งกันออกเป็นสองฝ่าย คือฝ่ายหนึ่ง เห็นว่าควรจะแก้ แต่แก้มากแก้น้อยเป็นอีกเรื่องนึง แต่อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าไม่ควรแก้ ดังนั้นในความเห็นของตนที่เป็นนักการเมือง คือเราต้องหาความประนีประนอมของทั้งสองฝ่าย ในกรณีที่มีความขัดแย้งทางการเมืองที่รุนแรง
นายจิรวัฒน์ กล่าวต่อว่า ความเห็นของตนซึ่งเห็นด้วยในการแก้ไขมาตรา 112 แต่ในมิติของตนเห็นว่าถ้าเราจะแก้ มาตรา 112 ควรที่จะยังคงมาตรา 112 ไว้ก่อน แล้วลดโทษลงมาได้ไหม ซึ่งในการที่มีการปรับแก้มาตรา 112 ล่าสุด คือสมัยที่มีการปฏิวัติของพล.ร.อ.สงัด ชะลออยู่ แล้วมีการใช้คำสั่งคณะปฎิรูป จากเดิม 7 ปี ก็เปลี่ยนมาเป็น 3-15 ปี ซึ่งมันเป็นโทษค่อนข้างสูง และบริบททางการเมืองในวันนั้นกับวันนี้อาจจะต่างกัน แต่ในวันนี้เรื่องเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนพัฒนาการไปแล้ว จึงเห็นว่าในการขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบันอาจจะต้องคงมาตรา 112 ไว้ก่อน ส่วนว่าจะยกหมวด หรือแยกหมวด เราควรจะต้องพูดคุยกันในวาระต่อไป ซึ่งเป็นเรื่องของการพิจารณาทางกฎหมาย ดังนั้นในความเห็นของตน ถ้าหากจะต้องเซ็นก็คิดว่าคงมาตรา 112 ไว้ แล้วปรับลดโทษลงมา ทีนี้ในทางกระบวนการนิติบัญญัติที่สำคัญที่สุดเวลาที่กฎหมายมันจะผ่านออกไปได้มันต้องผ่านทั้งฝ่ายค้าน ฝ่ายร่วมรัฐบาล และสมาชิกวุฒิสภา รวมถึงต้องรอดพ้นจากการตีความของศาลรัฐธรรมนูญด้วย ดังนั้นในทางการเมืองผมมองในความเป็นไปได้ในทางการเมือง และอยากที่จะมีความประนีประนอม อย่างไรก็ตามตนเคารพมติพรรคและเพื่อนสมาชิกเพื่อนทุกคน แต่ว่าอันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวที่ต้องแสดงทัศนะผ่านพี่ ๆ สื่อมวลชน รวมถึงประชาชนที่รอฟังทางบ้าน ว่าเกิดอะไรขึ้นกับ 9 รายชื่อ แต่ว่า 1 ใน 9 รายชื่ออันนี้คือความเห็นส่วนตัวของผม และที่ผ่านมาได้ชี้แจงผ่านกระบวนการที่ประชุมของพรรค แต่ว่าในรายละเอียดมันเป็นเรื่องภายในพรรคขออนุญาตไม่พูด แต่ว่าได้ผ่านกระบวนการที่ประชุมพรรคตามปกติ
เมื่อถามถึงกรณีที่พรรคมีนโยบายการแก้ไขมาตรา 112 แต่ส่วนตัวเห็นไม่ตรงกัน จะไปขัดแย้งกับพรรค และจะมีผลอะไรหรือไม่ นายจิรวัฒน์ กล่าวว่า เดิมทีถ้าเราย้อนกลับไปดูบทให้สัมภาษณ์ในการก่อตั้งอดีตที่ผ่านมา ซึ่งตนเคยอยู่พรรคอนาคตใหม่ จริง ๆ แล้วไม่มีนโยบายในการแตะมาตรา 112 แต่ว่าด้วยความที่ว่าปัจจุบันเราต้องยอบรับตามตรงว่ามันมีการใช้มาตรา 112 ที่ผิดวัตถุประสงค์ อย่างที่บอก คือมันมีการใช้ที่มีการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพ และเป็นการใช้ที่มีลักษณะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตรงนี้นี่แหละที่มันเกิดความเร่งเร้า เนื่องจากรัฐบาลนำมาตรา 112 เปรียบเสมือนนำมาเป็นนโยบายของรัฐบาลในการจัดการกับผู้ชุมนุม มันจึงเกิดกระแสการแก้ไขมาตรา 112 ดังนั้นวันนี้ไม่ต้องกลับไปถามเลยว่าใครเป็นคนที่ปลุกปั่น ยุยงให้เกิดมิติในด้านของการเกิดกระบวนความคิดที่ต้องมีการแก้ ดังนั้นมาตรา 112 เปรียบเสมือนรัฐบาลนำมาใช้เป็นนโยบาย ดังนั้นพรรคก้าวไกลเห็นว่าต้องมีการแก้ การแก้ไม่ได้หมายถึงว่ากระทบในมติ หรือหย่อนในเรื่องของสถาบัน แต่เราอยากเห็นว่า การนำใช้มาตรา 112 ต้องไม่ใช่การใช้ผิดวัตุประสงค์ และต้องไม่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของผู้ชุมนุม ประชาชน แต่เนื้อหาและวิธีการอาจเห็นต่างกันได้ ซึ่งได้ชี้แจงแล้วว่าผมเห็นต่างอย่างไร
ส่วนการที่ไม่ลงชื่อจะมีผลของคนภายนอกที่มองเข้าไปในพรรคไหมว่า มีความไม่เป็นเอกภาพเกิดขึ้นนั้น นายจิรวัฒน์ กล่าวว่า การเมืองหากย้อนกลับไป มันมีการถกเถียงกันมากมาย มันเป็นเรื่องพื้นฐานของประชาธิปไตย คือมันมีความเห็นแตกต่างกันได้ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วกฎหมายก็ต้องเข้าสู้กระบวนการ แต่ตนอยากจะให้ประชาชนที่อาจจะมีความคาดหวัง แล้วเป็นประเด็นที่มีความเป็นกฎหมายพิเศษอยู่แล้ว กลับกลายมาเป็นประเด็นทางการเมืองที่ค่อนข้างจะร้อนแรง แน่นอนว่าประชาชนอาจจะมองและวิเคราะห์ว่ามีความขัดแย้งอะไรหรือเปล่า ซึ่งจริง ๆ มันเป็นเรื่องประชาธิปไตยภายในพรรคและเป็นเอกสิทธิ์ส่วนตัว และตนขออนุญาตสงวนความเห็นไว้ตรงนี้
"ผมเห็นด้วยกับการแก้ไขมาตรา 112 แต่อาจเห็นต่างกันในเนื้อหาและวิธีการในการแก้ไข ซึ่งผมเห็นว่าควรคงมาตรา 112 ไว้ แต่ให้ลดโทษจากที่มีอัตราโทษสูงตั้งแต่ 3-15 ปี นั้นให้ลดลงไม่เกิน 3 ปีเหมือนสมัยรัชกาลที่ 5 หรือให้สอดคล้องกับความทันสมัยของโลกและบ้านเมืองปัจจุบันก็ควรปรับลดลงมาอีกอาจเหลือไม่เกิน 1 ปี หรือน้อยกว่า 1 ปี เป็นต้น และควรจำกัดผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษที่เป็นผู้เสียหายจริง ๆ เช่น ให้กรมราชเลขานุการในพระองค์เป็นผู้กล่าวโทษ หรือนากยกรัฐมนตรี เป็นผู้กล่าวโทษได้เท่านั้น” นายจิรวัฒน์ กล่าว