“หมอนคร” แจงวางแผนจัดหาวัคซีนโควิด-19 ตั้งแต่ เม.ย.63 ระบุไม่ต้องมีวัคซีนหลากหลายชนิด แต่ขอให้มีคุณภาพ มากพอครอบคลุมประชากร
เปิดคลิป สมเด็จเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯขณะทรงฝึก Free Fall โดดร่มขั้นสูง
ชีวิตเลือกเกิดไม่ได้ แม่ลูกวัยชรารอลงทะเบียน "เราชนะ" ไม่มีเงินติดตัวสักบาท
"ปารีณา"โพสต์แรงซัด "ชวน"หมดสิทธิเป็นองคมนตรี
เมื่อวันที่ 17 ก.พ. จากกรณีที่ผ่ายการเมืองอภิปรายไม่ไว้วางใจ และได้พาดพิงถึงแผนการจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของรัฐบาล ล่าสุด นพ.นคร เปรมศรี ผอ.สถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวว่า ประเทศไทยมีการวางแผนจัดหาวัคซีนโควิด -19 ตั้งแต่เดือน เม.ย. 2563 โดยมีการสนับสนุนการวิจัยพัฒนาวัคซีนภายในประเทศ แสวงหาความร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อวิจัยพัฒนาร่วมกัน และติดตามข้อมูลวามก้าวหน้าของวัคซีนแต่ละชนิด พบว่า วัคซีนรูปแบบ mRNA และไวรัส เวคเตอร์ มีการพัฒนาและน่าจะสำเร็จในเวลาใกล้เคียงกัน จึงมีการเจรจาขอข้อมูลกับผู้ผลิตประเทศต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง เช่น จีน อังกฤษ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น เบลเยียม โดยประเทศไทยตั้งเป้าว่าจะต้องได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตด้วย เพื่อรับมือกับการระบาดในเวลานี้และในอนาคต กระทั่งช่วงเดือน ก.ค. 2563 บริษัทแอสตร้าเซนเนก้า ได้หาพันธมิตรผู้ร่วมผลิตวัคซีนโควิด 19 ในเทคโนโลยีไวรัสเวคเตอร์ ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมเป็นฮับการผลิตวัคซีนกว่า 60 บริษัท ใน 60 ประเทศ โดยแอสตร้าเซนเนก้า ได้ประเมินและคัดเลือก 25 บริษัทเป็นผู้ร่วมผลิต ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด เนื่องจากประเมินศักยภาพแล้วมีมาตรฐานเหมาะสมที่จะรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยจำเป็นต้องสนับสนุนพัฒนาศักยภาพเพิ่มอีกเล็กน้อย เพื่อให้พร้อมรองรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เร็วที่สุดเพื่อผลิตวัคซีน และมีการเจรจาจองซื้อด้วย
"ถ้าจองซื้อวัคซีนกับบริษัทอื่น เป็นการคือซื้ออย่างเดียว แต่การจองซื้อกับแอสตร้าเซนเนก้า เราได้ศักยภาพการผลิตวัคซีนระดับโลกไว้กับเราด้วย ไม่ว่าจะอยู่กับภาครัฐหรือเอกชนไม่สำคัญ เพราะอยู่ในประเทศไทย ที่สำคัญแอสตร้าเซนเนก้ามีความมั่นใจอย่างมาก ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีตั้งแต่เดือน ต.ค. แม้ประเทศไทยยังไม่อนุมัติงบในการจองซื้อวัคซีน เนื่องจากบรรลุเงื่อนไขร่วมกันนือการเป็นหน่วยงานผลิตวัคซีนให้ภูมิภาคอาเซียน" นพ.นคร กล่าว
นพ.นคร กล่าวด้วยว่า ส่วนการจองซื้อวัคซีนกับแอสตร้าเซนเนก้าและโครงการโคแวกซ์มีความแตกต่างกัน เนื่องจากค่าจองของแอสตร้าเซนเนก้าเป็นส่วนหนึ่งของราคาวัคซีน แต่การจองกับโคแวกซ์เงินที่เรียกว่า UPFRONT PAYMENT เป็นค่าบริหารจัดการ ค่าวัคซีนจะกำหนดเมื่อทราบว่าได้วัคซีนของบริษัทใด และต้องจ่ายตามราคาที่ผู้ผลิตกำหนด ทั้งนี้ ราคาวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าที่ระบุว่าประเทศไทยซื้อแพงกว่าในราคา 5 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดสนั้น ความจริงคือราคาอ้างอิงวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าในเว็บไซต์ยูนิเซฟ หรือสหภาพยุโรป หรือของสหรัฐอเมริกา เป็นราคาที่ไม่รวมเงินสนับสนุนวิจัย ราคาจึงอยู่ที่ประมาณ 4 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส นอกจากนี้ ในแต่ละแหล่งผลิต ราคาต้นทุนวัตถุดิบมีความแตกต่างกันตามช่วงเวลา หากเป็นวัตถุดิบตั้งแต่ปีที่แล้วราคาถูกกว่า แต่ช่วงปลายปี 2563 มีความต้องการผลิตวัคซีนสูง ทำให้ราคาวัตถุดิบสูงขึ้น จึงเกิดความต่างเรื่องของราคา แต่อยู่บนหลักการไม่มีกำไรไม่มีขาดทุน สำหรับข่าวบริษัทอินเดียเสนอขายวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าแต่เราไม่ซื้อ เป็นข่าวเท็จทางโซเชียลมีเดีย ข้อเท็จจริงคือเป็นการเสนอความร่วมมือวิจัยวัคซีนกับไทย ซึ่งเป็นอีกบริษัทไม่ใช่บริษัทที่เกี่ยวกับแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งเราทำข้อตกลงบันทึกความเข้าใจร่วมกันแล้ว ส่วนโครงการโคแวกซ์ ประเทศไทยยังเดินหน้าเจรจาเข้าร่วม ถ้าได้เงื่อนไขที่เหมาะสมกับประเทศไทย ขณะที่วัคซีนที่จะได้จากโคแวกซ์ในช่วงไตรมาสที่ 1 และ 2 ของปี 2564 ก็เป็นของแอสตร้าเซนเนก้า จึงมองว่าไม่ต้องเข้าร่วมโครงการ เพราะเราได้วัคซีนจากการผลิตในประเทศไทยอยู่แล้ว ซึ่งคุณภาพทัดเทียมกับการผลิตจากบริษัทอื่นๆ ทั่วโลก ส่วนประเด็นการห้ามใช้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าในผู้สูงอายุ เรายึดตามความเห็นขององค์การอนามัยโลกที่ระบุว่าวัคซีของนแอสตร้าเซนเนก้าใช้ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปได้
"เราจัดซื้ออย่างโปร่งใสมีคณะกรรมการตรวจสอบ พิจารณาเงื่อนไขสัญญาต่างๆ โดยหน่วยงานกำกับกฎหมายของประเทศ ไม่ได้ปกปิด และขอให้มั่นใจศักยภาพว่าประเทศไทยไม่แพ้ใครในโลก วัคซีนก็ผลิตได้คุณภาพ เราไม่ต้องมีวัคซีนหลากหลายชนิด ขอให้มีมากพอครอบคลุมประชากร และจัดบริการฉีดวัคซีนที่มีคุณภาพ" นพ.นคร กล่าว