"ศาลปกครอง" โชว์ครบรอบ 20 ปีปิดคดีร้อยละ 80 พร้อมชี้เหตุ "เจ้ติ๋ม ทีวีพูล" ชนะคดี
"กองทัพ"แจ้งเคลื่อนย้าย"กำลังพล-ยุทโธปกรณ์"
เปิดภาพวงจรปิด นาทีระทึก! กำนันปืนโหดกราดยิง แจ้ง 3 ข้อหาหนัก
“บิ๊กป้อม” ปัด "อนุชา-นฤมล" ทะเลาะกัน
เมื่อวันที่ 9 มี.ค. นายปิยะ ปะตังทา ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประธานแถลงผลการดำเนินงานของศาลปกครอง เนื่องในโอกาสครบรอบ 20 ปี ของการเปิดทำการศาลปกครอง พร้อมเปิดนิทรรศการออนไลน์ ชื่อ "ร้อยภาพเล่าเรื่อง 20 ปี ศาลปกครอง" แสดงระบบงานคดีปกครองอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการอำนวยความยุติธรรมทางปกครองได้โดยเรียบง่าย มีความสะดวก และไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย สอดคล้องกับชีวิตวิถีใหม่ หรือ New Normal นอกจากนี้ยังแถลงผลการดำเนินภารกิจด้านการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลปกครองในภาพรวมตลอด 20 ปีที่ผ่านมา โดยศาลปกครองรับคดีเข้าสู่การพิจารณา จำนวน 174,424 คดี เป็นคดีที่ประชาชนยื่นฟ้องต่อศาลปกครองชั้นตัน จำนวน 123,380 คดี และเป็นคดีอุทธรณ์หรือฟ้องตรงต่อศาลปกครองสูงสุด จำนวน 51,044 คดี ศาลปกครองสามารถพิจารณาคดีแล้วเสร็จ จำนวน 146,537 คดี คิดเป็นร้อยละ 84.01 ของคดีรับเข้า ส่วนการยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเว็บไซค์ ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 30 พ.ค.2562 เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่คู่กรณีและประชาชน ให้สามารถยื่นฟ้องคดี โดยในส่วนของศาลปกครองชั้นต้น มีคดีที่ยื่นฟ้องทางอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 267 คดี พิจารณาคดีแล้วเสร็จ จำนวน 126 คดี
ด้าน นายจำกัด ชุมพลวงศ์ รองอธิบดีศาลปกครองกลางและรองโฆษกศาลปกครอง กล่าวถึงกรณี นางพันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย หรือเจ้ติ๋ม ทีวีพูล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยทีวี จำกัด เจ้าของทีวีดิจิทัล ยื่นฟ้องคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในการขอคืนใบอนุญาตทีวีดิจิทัล และไม่ต้องจ่ายค่าเช่าโครงข่ายตลอดอายุสัญญาที่เหลืออีก 9 ปี 6 เดือน จนท้ายที่สุดศาลมีคำตัดสินให้เจ้ติ๋ม ชนะคดีนั้น คดีดังกล่าวเริ่มต้นพิจารณาตั้งแต่ปี 2559 ซึ่งเป็นเรื่องสืบเนื่องมาจากบริษัทไทยทีวี ดำเนินกิจการมาระยะเวลาหนึ่งและพบว่ามีปัญหาต่างๆ จึงนำคดีมาฟ้องร้องต่อศาล ซึ่งก่อนการฟ้องร้องมีการยุติการแพร่ภาพโดย กสทช.ใช้อำนาจพักการออกอากาศและเพิกถอนใบอนุญาติในที่สุด ตรงนี้ศาลมองว่ามีข้อตกลงร่วมกันในการจัดทำคลื่นความถี่สาธารณะ หากช่องอื่นจะฟ้องร้องคืนใบอนุญาตทีวีดิจิตอล ก็จะต้องมีการพิจารณาเป็นรายๆ ไป