หนุ่มอุบลฯ จอด จยย.ยืนฉี่ข้างรั้ว "กรมศุลกากร" พลาด คอติดรั้วเหล็กกันขโมยดับอนาถ
“บุ๋ม ปนัดดา” โชว์จะๆ เลขเด็ดสุ่มหยิบ พร้อมถามขำๆ ต้องเขียนชื่อไหม ?
โค้งสุดท้าย “เลขดังไอ้ไข่” เลขเด็ดมาแรง (งวด 16 มี.ค.64)
แห่ขอโชคลาภคึกคัก “วังนาคินทร์เกาะคำชะโนด”
เมื่อวันที่ 16 มี.ค. มีรายงานว่า เมื่อช่วงกลางดึกทีผ่าานมา ร.ต.อ.ธนเดช จันทร์มาลา รอง สว.(สอบสวน) สน.ท่าเรือ พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่สายตรวจ แพทย์นิติเวช รพ.จุฬาฯ และหน่วยกู้ภัยมูลนิธิร่วมกตัญญู เข้าตรวจสอบเหตุผู้เสียชีวิตที่บริเวณริมรั้วใกล้ประตู 2 กรมศุลกากร ฝั่งถนนอาจณรงค์ แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กทม. ที่เกิดเหตุพบ นายอนุวัฒน์ ภูกองไชย์ อายุ 29 ปี อยู่บ้านเลขที่ 133 หมู่ 13 ต.โดมประดิษฐ์ อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี เสียชีวิตในสภาพกำลังยืนปัสสาวะโดยหันหน้าเข้าหารั้วเหล็กแหลมกันขโมย มีความสูงจากพื้นดินประมาณ 1.5 เมตร โดยคอผู้ตายติดอยู่ในช่องว่างระหว่างก้านเหล็กแหลมที่มีความห่างราวๆ 6-8 นิ้ว ที่ศีรษะยังสวมหมวกนิรภัยแบบครึ่งใบสีดำ เนื้อตัวมีกลิ่นสุราคละคลุ้ง ใกล้กันพบรถ จยย.ยี่ห้อฮอนด้า รุ่นโนวาอาร์เอสซูเปอร์ สีแดงขาว ทะเบียน กขท 556 อุบลราชธานี ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นของผู้ตายยังจอดอยู่บนถนนชิดกับขอบบาทวิถี เจ้าหน้าที่จึงเก็บรวบรวมรายละเอียดไว้เป็นหลักฐาน
ร.ต.อ.ธนเดช เปิดเผยว่า ก่อนพบศพ ตำรวจสายตรวจ สน.ท่าเรือ ขี่รถ จยย.ไปพบเห็นผู้ตายกำลังยืนอยู่ในสภาพดังกล่าวแต่ไม่ไหวติง จึงทำการตรวจสอบจนทราบว่าผู้ขับขี่ รถ จยย.จอดรถเเวะปัสสาวะแล้วลำคอเกิดติดกับซอกว่างระหว่างรั้วเหล็กกันขโมยของกรมศุลกากร จนขาดอากาศหายใจเสียชีวิต เบื้องต้นคาดว่าผู้ตายน่าจะไปกินดื่มสังสรรค์แล้วขี่รถผ่านมา พอปวดปัสสาวะเลยจอดแวะเพื่อปลดทุกข์ แต่อาจเกิดอาการวูบ หรือเป็นอุบัติเหตุยืนเซหน้าคะมำจนคอเข้าไปติดกับซอกเหล็กแต่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เพราะความมึนเมา ทั้งนี้ได้นำร่างผู้เสียชีวิตไปให้แพทย์นิติเวชทำการผ่าชันสูตรอย่างละเอียดอีกครััง ก่อนติดต่อญาติให้มารับศพไปบำเพ็ญกุศลต่อไป
ขณะที่ไทยมุงที่มาดูเหตุการณ์ ต่างวิพากษ์วิจารณ์กันไปต่างๆ นานา บ้างก็ระบุว่า การเสียชีวิตของชายหนุ่มในครั้งนี้ อาจเป็นเพราะผู้ตายยืนปัสสาวะหลบลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในกรมศุลกากร ซึ่งมีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย จากหลักฐานศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งเรียกหน่วยงานนี้ว่า "จกอบ" ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา เรียกว่า "พระคลังสินค้า" มีสถานที่สำหรับการภาษี เรียกว่า "ขนอน" เก็บภาษีจากระวางบรรทุกสินค้า เมื่อเข้าสู่ยุครัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ 3 เรียกว่า "โรงภาษี" ต่อมาในสมัย ร.4 เรียกว่า "ศุลกสถาน" กระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการจัดเก็บภาษีอย่างเต็มรูปแบบ ยิ่งขึ้นจึงมีการก่อตั้ง "กรมศุลกากร" จวบจนถึงปัจจุบัน